ยินดีที่แวะมาเยี่ยม web blog ทักษะการจัดการความรู้ (KM) ทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับผู้เรียนศตวรรษที่ 21 วิชาประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ขอบคุณคุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา และเพื่อนๆ ที่แนะนำให้คำปรึกษา

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

ประวัติศาสตร์ลาว

ประวัติศาสตร์ลาวยุคต้น
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์เมื่อประมาณ 4,000 – 5,000 ปีก่อน กลุ่มชนที่พูดภาษาไตได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศลาวและที่ราบสูงในภาคอีสาน รวมถึงพวกไท- กะได ม้ง-เมี่ยนที่เป็นบรรพบุรุษของชาวลาวลุ่ม และพวกม้ง-เย้าที่อพยพจากตอนใต้ของประเทศจีน แรกเริ่มกลุ่มชนเหล่านี้ไม่มีการตั้งหลักแหล่งที่แน่นอน ต่อมาเมื่อชนเผ่าต่างๆ ทั้งไท พม่า และเวียดนามอพยพลงมาในเขตเทือกเขาและหุบเขาของดินแดนเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติมอญ-เขมร ความจำเป็นในการสร้างบ้านแปงเมืองก็เริ่มมีขึ้นจนพัฒนาต่อมาเป็นเมืองเกษตรกรรม และตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณหุบเขาและที่ราบลุ่มภายใต้อำนาจของอาณาจักรเขมร

ต่อมาในปี พ.ศ.1896 พระเจ้าฟ้างุ้มทรงทำสงครามตีเอานครเวียงจันทน์หลวงพระบาง หัวเมืองพวนทั้งหมด ตลอดจนหัวเมืองอีกหลายแห่งในที่ราบสูงโคราชเข้ารวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน ภายใต้การช่วยเหลือของกษัตริย์เขมร ก่อตั้งเป็นอาณาจักรล้านช้างขึ้นบนดินแดนที่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างลุ่มแม่น้ำโขงกับเทือกเขาอันหนำ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงดง-เชียงทอง เป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองในทุกด้าน หลังจากสถาปนาเมืองเชียงดง-เชียงทอง แล้ว พระเจ้าฟ้างุ้มทรงรับพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ (นิการเถรวาท) จากราชสำนักเขมรมาเป็นศาสนาประจำชาติ และได้อัญเชิญพระบาง เป็นพระพุทธรูปศิลปะสิงหลจากราชสำนักเขมรมายังล้านช้าง เจ้าฟ้างุ้มทรงเปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองหลวงพระบาง”

เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้มสิ้นพระชนม์ พระยาสามแสนไทไตรภูวนาถ โอรสของพระเจ้าฟ้างุ้มได้ขึ้นครองราชย์ต่อ อาณาจักรล้านช้างเริ่มตกต่ำลงเพราะสงครามแย่งชิงอำนาจและเกิดกบฏต่างๆ นานนับร้อยปี จนถึง พ.ศ. 2063 พระโพธสารราชเจ้าขึ้นครองราชย์ และรวบรวมแผ่นดินขึ้นใหม่ให้เป็นปึกแผ่น และให้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้างไปอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ เพื่อให้ไกลจากการรุกรานของสยาม และสร้างความเจริญให้กับอาณาจักรล้านช้างเป็นอย่างมากและทรงมีสายพระเนตรยาวไกล ทรงโปรดให้พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชพระราชโอรสไปครองอาณาจักรล้านนา เพื่อเป็นการคานอำนาจพม่า ครั้นเมื่อพระเจ้าโพธิสารราชเจ้าเสด็จสวรรคต พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเสด็จกลับมาล้านช้าง และทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตจากเชียงใหม่ไปยังเวียงจันทน์ ในรัชสมัยของพระองค์พระพุทธศาสนาทรงมีความเจริญรุ่งเรืองมาก ทรงสร้างวัดพระธาตุหลวง หรือที่เรียกว่า “พระธาตุเจดีย์โลกจุฬามณี” และสร้างวัดพระแก้วขึ้นเพื่อประดิษฐานพระแก้วมรกต และ พระองค์มีความสัมพันธไมตรีที่แนบแน่นกับกษัตริย์ไทย โดยเฉพาะในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช รัชสมัยของพระองค์นับเป็นยุคทองของราชอาณาจักรล้านช้าง ภายหลังเมื่อพระองค์สวรรคตแล้ว เชื้อพระวงศ์ลาวต่างก็แก่งแย่งราชสมบัติกัน จนอาณาจักรล้านช้างแตกแยกเป็น 3 ส่วนคือ อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์และอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ ต่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน และเพื่อชิงความเป็นใหญ่ต่างก็ขอสวามิภักดิ์ต่อเมืองเพื่อนบ้านเช่นไทย พม่า เพื่อขอกำลังมาสยบอาณาจักรลาวด้วยกัน จนถึง พ.ศ. 2322 กองทัพสยามเข้ายึดครองแผ่นดินล้านช้างที่แตกแยกออกเป็น 3 อาณาจักรได้ทั้งหมด ครั้นถึงปี พ.ศ. 2365 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ทรงวางแผนก่อกบฏเพื่อกอบกู้เอกราช แต่ไม่สำเร็จถูกตัดสินโทษประหารชีวิต กองทัพสยามในรัชกาลที่ 3 ยกมาตีนครเวียงจันทน์ได้รื้อทำลายกำแพงเมือง เอาไฟเผาราบทั้งเมือง

สงครามเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. 2369 อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์มีพระเจ้าอนุวงศ์เป็นกษัตริย์ ได้รับราชการกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแห่งกรุงสยามมีความชอบมาก จึงประทานเมืองจำปาสักให้เจ้าราชบุตรโย้ ราชโอรสของเจ้าอนุวงศ์ปกครอง ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อมา เจ้าอนุวงศ์เห็นว่าเป็นช่วงเปลี่ยนแผ่นดินจึงคิดแยกตัวเป็นอิสระไม่ขึ้นกับไทยอีกต่อไป จึงระดมกำลังรวมกับเจ้าราชบุตรโย้ซึ่งครองจำปาสักยกทัพมาตีสยามทางด้านภาคอีสานของไทยในปัจจุบัน พร้อมทั้งแสวงหาพันธมิตรจากหลวงพระบางและหัวเมืองล้านนาแต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนอง เนื่องจากหัวเมืองดังกล่าวฝักใฝ่กับฝ่ายไทยมากกว่า เมื่อกองทัพของเจ้าอนุวงศ์ยกทัพมาถึงเมืองนครราชสีมาเห็นจะทำการไม่สำเร็จจึงตัดสินใจเผาเมืองนครราชสีมาทิ้งและกวาดต้อนเชลยตามรายทางกลับไปเวียงจันทน์ ระหว่างทางเชลยที่ถูกกวาดต้อนก็ได้ลุกขึ้นต่อสู้กองทัพลาวที่ทุ่งสำริดจนเสียกำลังทหารลาวส่วนหนึ่งด้วย ด้านฝ่ายไทยซึ่งทราบข่าวค่อนข้างช้าก็ได้ส่งกองทัพภายใต้การนำของกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์และเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ขึ้นมาปราบปราม กองทัพเจ้าอนุวงศ์สู้ไม่ได้จึงแตกพ่าย ตัวเจ้าอนุวงศ์และราชวงศ์เชื้อสายก็ต้องหนีภัยไปพึ่งจักรวรรดิเวียดนาม ฝ่ายสยามจึงยึดกรุงเวียงจันทน์ไว้โดยยังมิได้ทำลายเมืองลงแต่อย่างใด และได้แต่งตั้งกองทหารจำนวนหนึ่งรักษาเมืองไว้เท่านั้น

ในปี พ.ศ. 2371 เจ้าอนุวงศ์ได้กลับมายังกรุงเวียงจันทน์โดยมากับขบวนราชทูตเวียดนามพามาเพื่อขอสวามิภักดิ์สยามอีกครั้ง แต่พอสบโอกาสเจ้าอนุวงศ์จึงนำทหารของตนฆ่าทหารไทยที่รักษาเมืองจนเกือบทั้งหมดและยึดกรุงเวียงจันทน์คืน กองทัพสยามจึงถอนกำลังเพื่อรวบรวมกำลังพลและยกทัพมาปราบปรามเจ้าอนุวงศ์อีกครั้ง ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์เมื่อสู้กองทัพไทยไม่ได้จึงไปหลบภัยที่เมืองพวน (แขวงเชียงขวางในปัจจุบัน) แต่เจ้าน้อยเมืองพวนกลับจับตัวเจ้าอนุวงศ์และพระราชวงศ์ที่เหลืออยู่ส่งลงมากรุงเทพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธเจ้าอนุวงศ์มากจึงทรงให้คุมขังเจ้าอนุวงศ์ประจานกลางพระนครจนสิ้นพระชนม์ ส่วนกรุงเวียงจันทน์ก็ทรงมีพระบรมราชโองการให้ทำลายจนไม่เหลือสภาพความเป็นเมือง และตั้งศูนย์กลางการปกครองฝ่ายไทยเพื่อดูแลอาณาเขตของอาณาจักรเวียงจันทน์ที่เมืองหนองคายแทน เมืองเวียงจันทน์ที่ถูกทำลายลงในครั้งนั้นมีเพียงแค่หอพระแก้วและวัดสีสะเกดเท่านั้นที่ยังคงสภาพสมบูรณ์มาจนถึงปัจจุบัน

สงครามเจ้าอนุวงศ์ที่เกิดขึ้นในเวลานั้น ต่อมาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรสยามและจักรวรรดิเวียดนาม จนกระทั่งเกิดสงครามที่เรียกว่า “อานามสยามยุทธ” เป็นระยะเวลาถึง 14 ปี เพราะทั้งสองอาณาจักรล้วนต้องการขยายอิทธิพลของตนเข้าไปในดินแดนลาวและเขมร ทั้งสงครามนี้ยังเป็นประวัติศาสตร์บาดแผลระหว่างไทยกับลาวสืบเนื่องต่อมาจนถึงปัจจุบัน

การขยายอำนาจของฝรั่งเศสสู่ลุ่มแม่น้ำโขง ปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ต่อช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ประเทศฝรั่งเศสเริ่มให้ให้ความสนใจที่จะขยายอำนาจเข้ามาสู่ดินแดนในแถบลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อหาทางเข้าถึงดินแดนตอนใต้ของจีนเพื่อเปิดตลาดการค้าแห่งใหม่แข่งกับอังกฤษ ซึ่งสามารถยึดพม่าได้ก่อนหน้านั้นแล้ว โดยฝรั่งเศสเริ่มจากการยึดครองแคว้นโคชินจีนหรือเวียดนามใต้ก่อนในปี พ.ศ. 2402 รุกคืบเข้ามาสู่ดินแดนเขมรส่วนนอกซึ่งไทยปกครองในฐานะประเทศราชในปี พ.ศ. 2406 (ไทยตกลงยอมสละอำนาจเหนือเขมรส่วนนอกอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2410) จากนั้นจึงได้ขยายดินแดนในเวียดนามต่อจนกระทั่งสามารถยึดเวียดนามได้ทั้งประเทศในปี พ.ศ. 2426 พรมแดนของสยามทางด้านประเทศราชลาวจึงประชิดกับดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศสอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

พ.ศ. 2428 ประเทศจีนได้เกิดเหตุการณ์กบฏไท่ผิงต่อต้านราชวงศ์ชิง กองกำลังกบฏชาวจีนฮ่อที่แตกพ่ายได้ถอยร่นมาตั้งกำลังซ่องสุมผู้คนอยู่ในแถบมณฑลยูนนานของจีน ดินแดนสิบสองจุไทย และตามแนวชายแดนประเทศราชลาวตอนเหนือ กองกำลังจีนฮ่อได้

มารุกรานลาวและตีเมืองต่างๆ ไล่จากทางตอนเหนือไล่มาถึงนครเวียงจันทน์ตอนใต้ ไทย (หรือสยามในเวลานั้น)จึงร่วมกับฝรั่งเศสปราบฮ่อจนสำเร็จ โดยทั้งสองฝ่ายไล่ตีกองกำลังจีนฮ่อจากอาณาเขตของแต่ละฝ่ายให้มาบรรจบกันที่เมืองแถง (เดียนเบียนฟูในปัจจุบัน) แต่ก็เกิดปัญหาใหม่ คือ ฝ่ายฝรั่งเศสฉวยโอกาสอ้างสิทธิปกครองเมืองแถงและสิบสองจุไทย โดยไม่ยอมถอนกำลังทหารออกจากเมืองแถงเพราะอ้างว่าเมืองนี้เคยส่งส่วยให้เวียดนามมาก่อน ปัญหาดังกล่าวนี้มีที่มาจากภาวะการเป็นเมืองสองฝ่ายฟ้า ซึ่งจะส่งส่วยให้แก่รัฐใหญ่ทุกรัฐที่มีอิทธิพลของตนเองเพื่อความอยู่รอด

ดินแดนลาวทั้งหมดก็เปลี่ยนไปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ประเทศฝรั่งเศส จากการใช่เล่ห์เหลี่ยมของโอกุสต์ ปาวี กงสุลฝรั่งเศส โดยการใช้เรือรบมาปิดอ่าวไทยเพื่อบังคับให้ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รวมทั้งดินแดนอื่น ๆ ลาวถูกรวมเข้าเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2436

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้รุกเข้ามาในลาวและดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศสอื่นๆ เมื่อญี่ปุ่นใกล้แพ้สงคราม ขบวนการลาวอิสระซึ่งเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อกู้เอกราชลาวในเวลานั้นประกาศเอกราชให้ประเทศลาวเป็นประเทศ ราชอาณาจักรลาว หลังญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสก็กลับเข้ามามีอำนาจในอินโดจีนอีกครั้งหนึ่ง ฝรั่งเศสปกครองลาวแต่ละแขวงโดยมีคนฝรั่งเศสเป็นเจ้าแขวงหรือข้าหลวง คอยควบคุมเจ้าเมืองที่เป็นคนลาวอีกต่อหนึ่ง ซึ่งต้องเก็บส่วยตัวเลขจากชายฉกรรจ์ให้ข้าหลวงฝรั่งเศส ตลอดเวลาที่ลาวตกเป็นเมืองขึ้นนั้นฝรั่งเศสไม่รักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ โดยรื้อสร้างเป็นถนนไม่ได้สนใจกับประเทศลาวเท่าไรนัก เพราะถือว่าเป็นดินแดนบ้านป่าล้าหลังไม่มีค่าในเชิงเศรษฐกิจ

ต่อมาในสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมันนีมีชัยเหนือประเทศฝรั่งเศสและก่อตั้งคณะรัฐบาลขึ้นที่เมืองวิซี คณะข้าหลวงฝรั่งเศสในอินโดจีนให้การหนุนหลัง รัฐบาลวิซี และตกลงเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ครั้นถึงปี พ.ศ.2484 รัฐบาลใต้ภายใต้การนำของพลตรีหลวงพิบูลสงครามก่อเริ่มดำเนินการต่อต้านอำนาจของฝรั่งเศสที่เริ่มเสื่อมถอย ด้วยการยึดแขวงไชยบุรีและจำปาศักดิ์กลับคืนมา ญี่ปุ่นยุให้ลาวประกาศเอกราช แต่กองทัพฝรั่งเศสก็ย้อนกลับคืนมาอีกครั้งหลังสงครามยุติได้ไม่นาน ลาวหันมาปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดภายใต้การควบคุมดูแลของฝรั่งเศส

พ.ศ. 2492 สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรฯ ขบวนการลาวอิสระล่มสลาย แนวรักร่วมชาติได้พัฒนาเป็นขบวนการคอมมิวนิสต์ประเทศลาว ในเวลาต่อมาโดยได้รับการสนับสนุนจาโฮจิมินห์และพรรคคอมมิวนิสต์ของเวียตนาม

พ.ศ.2495 ลาวในหัวเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มก่อการจลาจลต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศสภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลกรุงฮานอย เมื่อฝรั่งเศสแพ้สงครามที่ค่ายเดียนเบียนฟู ลาวจึงได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ ฝรั่งเศสถอนกำลังออกจากประเทศลาว ซึ่งแตกแยกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสนับสนุนระบบกษัตริย์ในนครเวียงจันทน์ (ฝ่ายขวา) กับฝ่ายขบวนการประเทศลาว (ฝ่ายซ้าย)

พ.ศ. 2500 เจ้าสุวรรณภูมาขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำรัฐบาลผสมในนครเวียงจันทน์ 3 ปีต่อมา เวียงจันทน์เริ่มสั่นคลอนเพราะความขัดแย้งระหว่างกลุ่มก่อรัฐประหารและกลุ่มต่อต้านการทำรัฐประหาร ฝ่ายขบวนการประเทศลาวก่อการจลาจลขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออก

ยุคพระราชอาณาจักรลาวและสงครามกลางเมือง
พ.ศ. 2502 เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์เสด็จสวรรคต เจ้าสว่างวัฒนาจึงขึ้นครองราชย์เป็นเจ้ามหาชีวิตแทน เหตุการณ์ในลาวยุ่งยากมาก เจ้าสุภานุวงศ์ 1 ในคณะลาวอิสระประกาศตนว่าเป็นพวกฝ่ายซ้ายนิยมคอมมิวนิสต์ และเป็นหัวหน้าขบวนการปะเทดลาว ได้ออกไปเคลื่อนไหวทางการเมืองในป่า เนื่องจากถูกฝ่ายขวาในลาวคุกคามอย่างหนัก ถึงปี 2504 ร้อยเอกกองแลทำการรัฐประหาร รัฐบาลเจ้าสุวรรณภูมา แต่ถูกกองทัพฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายรุมจนพ่ายแพ้ กองแลต้องลี้ภัยไปสหรัฐจนถึงปัจจุบัน

เหตุการณ์ทางการเมืองในระยะเวลาไม่นานหลังจากนั้นบังคับให้ลาวต้องตกอยู่ท่ามกลางสงครามอินโดจีนครั้งที่สอง ซึ่งรุนแรงยิ่งกว่าครั้งแรก และเป็นปัจจัยก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองและรัฐประหารหลายครั้งด้วยกัน จนถึงปี พ.ศ. 2518 พรรคประชาชนปฏิวัติลาวซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต และคอมมิวนิสต์เวียดนามโดยการนำของ เจ้าสุภานุวงศ์ ก็ล้มล้างรัฐบาลประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของเจ้ามหาชีวิตสว่างวัฒนา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาสำเร็จ จึงนำเจ้ามหาชีวิตและมเหสีไปคุมขังในค่ายกักกันจนสิ้นพระชนม์ และสถาปนาประเทศลาวเป็น “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518

ระยะ 5 ปี หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ลาวใช้นโยบายคอมมิวนิสต์ปกครองอย่างเข้มงวด ควบคุมพุทธศาสนา ตัดสัมพันธ์กับประเทศไทย ปราบปรามชนกลุ่มน้อย ราษฎรหลายหมื่นคนถูกจับ ส่งผลให้ปัญญาชนและชนชั้นกลางจำนวนมากหลบหนีออกนอกประเทศ เจ้าสว่างวัฒนาและพระญาติวงศ์สิ้นพระชนม์อยู่ในค่ายกักกัน ชาวบ้านยากจนลง

สมัยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สภาพการปกครอง และการบริหารด้านเศรษฐกิจของลาวเริ่มผ่อนคลายมากขึ้นในระยะหลังของทศวรรษ 1980 ต่อมาเมื่อเจ้าสุภานุวงศ์สละตำแหน่งจากประธาน ผู้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อ คือ ท่านไกสอน พมวิหาน (พ.ศ. 2535) นายไกสอน พรหมวิหาร ประธานประเทศผู้เชื่อมั่นในระบอบคอมมิวนิสต์ถึงแก่อสัญกรรม นายหนูฮัก พูมสะหวัน ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน การจำกัดเสรีภาพค่อยๆ ถูกยกเลิกไป ชาวลาวที่อพยพไปอยู่ต่างประเทศได้รับการเชื้อเชิญให้กลับคืนสู่บ้านเกิดเมืองนอน ลาวเริ่มเปิดประเทศ และฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศไทย และเมื่อท่านไกสอนถึงแก่กรรมกระทันหัน ท่าน หนูฮัก พูมสะหวัน ก็ได้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อมา ยุคนี้ลาวกับไทยเปิดสะพานมิตรภาพ ไทย – ลาว ในปี พ.ศ. 2538 ต่อมาท่านหนูฮักสละตำแหน่ง ท่านคำไต สีพันดอนรับดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อ จนถึงปี พ.ศ. 2549 ท่านคำไตลงจากตำแหน่ง ท่านจูมมะลี ไซยะสอน จึงเป็นผู้รับตำแหน่งประธานประเทศลาวคนปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น